ทำไมไม่ควรแช่เนื้อสัตว์ไว้ในช่องฟรีทนานๆ

แช่เนื้อสัตว์

บ้านของพวกท่านเคยประสบปัญหาเนื้อสัตว์แช่แข็งแบบพันปี(เปรียบเปรย) กันบ้างมั้ยครับ เพราะเคลียร์ตู้เย็นแต่ละทีนั้น ก็มักจะมีเนื้อหมู ปลาหรืออะไรต่างๆ ที่แช่แข็งลืมไว้ ครั้นจะเอามาทำอาหาร มันก็เลยวันหมดอายุมานานโขแล้ว วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปค้นหาคำตอบกันว่า “ทำไมไม่ควรแช่เนื้อสัตว์ไว้ในช่องฟรีทนานๆ” กันสักหน่อยเพื่อเป็นวิทยาทานกันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปชมกันครับ

ทำไมไม่ควรแช่เนื้อสัตว์ไว้ในช่องฟรีทนานเกินไป

เดิมทีอาหารแช่แข็ง มีการควบคุมเชื้อปนเปื้อน คือสะอาดก่อนจะนำมาแช่แข็ง ความเย็นไม่ทำให้เชื้อลดจำนวนแต่หยุดการเติบโตเท่านั้น แต่การ ละลายแล้วแช่ซ้ำเมื่อตอนละลายเชื้อโรคจะเพิ่มจำนวนขึ้น เมื่อแช่ซ้ำจึงได้เชื้อโรคในอาหารนั้นจำนวนมากขึ้นจนเกิดเป็นเชื้อราหรือแบคทีเรียสะสม หากนำมาประกอบอาหารจะทำให้ผู้รับประทานอาหารเป็นพิษได้ครับ

วิธีสังเกตว่าอาหารในช่องฟรีทเสียหรือยังหากไม่มีวันหมดอายุติดอยู่

ให้สังเกตสีของเนื้อ เนื้อไก่ที่สดจะมีสีออกชมพูอ่อน ๆ หรือสีเนื้อ หากสีของเนื้อไก่ซีดลงแสดงว่าอาจใกล้หมดอายุ  แต่ถ้าเนื้อไก่เริ่มออกเขียวแสดงว่าหมดอายุแล้วแน่นอน ส่วนเนื้อหมูก็เช่นเดียวกันหากมีสีเขียวห้ามรับประทานเด็ดขาดถึงแม้จะแช่ไว้ในช่องฟรีทแล้วก็ตามครับ

วิธีเก็บวัตถุดิบในตู้เย็นที่ดี

●วิธีการเก็บเนื้อสัตว์

เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู-ไก่สด ก่อนเก็บควรทำความสะอาดทั้งชิ้น และนำมาแบ่งเป็นชิ้นส่วนขนาดพอเหมาะสำหรับใช้ในการปรุงอาหารแต่ละครั้งและเก็บใส่ภาชนะที่สะอาด นอกจากนี้ ควรเก็บเนื้อสัตว์อุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสหรือในช่องแช่แข็งจะเก็บได้นานประมาณ 6 เดือน เมื่อต้องการใช้ก็หยิบออกมาทีละส่วน นำมาพักไว้ในช่องแช่เย็นเพื่อทำละลาย และควรใช้ให้หมด

●วิธีเก็บไข่ไก่ให้ไม่เน่าเสีย

ไข่ไก่ เปลือกไข่จะมีลักษณะเป็นรูพรุน จึงทำให้น้ำ อากาศ ระเหยได้ในระหว่างการเก็บรักษา จึงควรเก็บในช่องแช่เย็น อุณหภูมิประมาณ 4-5 องศาเซลเซียสเพื่อช่วยให้การระเหยช้าลง นอกจากนี้ ไม่ควรล้างไข่ไก่ก่อนนำเข้าตู้เย็น เนื่องจากไข่ไก่จะมี “นวลไข่” เคลือบบริเวณเปลือกไข่เพื่อปกป้องไม่ให้น้ำและอากาศระเหยออกสู่ด้านนอก รวมถึงปกป้องไม่ให้จุลินทรีย์เข้ามาในไข่ด้วย ดังนั้น หากต้องการทำความสะอาด ให้ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดเปลือกไข่เบาๆให้แห้ง และไม่ควรเก็บนานเกิน 2 สัปดาห์

●วิธีเก็บสัตว์น้ำ

สัตว์น้ำ เช่น ปลา ต้องนำเอาเครื่องในและของเสียในช่องท้องออกก่อน แล้วล้างทำความสะอาดตัวปลา หั่นเนื้อปลาแยกเป็นชิ้น การเก็บรักษาควรแบ่งเนื้อปลาเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทแยกสำหรับการประกอบอาหารแต่ละครั้ง หากเก็บเนื้อปลาในอุณหภูมิไม่เกิน 5 องศาเซลเซียสจะอยู่ได้ไม่เกิน 2 วัน หรือหากแช่แข็งในอุณหภูมิต่ำกว่าลบ 18 องศาเซลเซียส เก็บได้ไม่เกิน 3 เดือน ส่วนกุ้งสดต้องตัดหนวดออก ทำความสะอาด เก็บในภาชนะแบ่งเป็นสัดส่วน และควรเก็บในช่องแช่แข็ง

●วิธีเก็บผักผลไม้

ผักและผลไม้ สิ่งสำคัญคือการลดอุณหภูมิ เพราะความเย็นจะทำให้ทำให้กระบวนการเจริญของจุลินทรีย์ รวมถึงกิจกรรมของเอนไซม์เกิดได้ช้าลง นอกจากนี้ความชื้นก็เป็นปัจจัยสำคัญ หากเก็บในที่แห้งจะทำให้ผักผลไม้เหี่ยว ควรเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิทเพื่อรักษาความชื้น

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ทำไมไม่ควรแช่เนื้อสัตว์ไว้ในช่องฟรีทนานๆ” ที่พวกเราได้รวบรวมมมาให้กับทุกๆ ท่าน คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์พอควรและเป็นการป้องกันการเกิดอาหารเป็นพิษได้ในอนาคตครับ

Back To Top