วิธีการเลือกเนื้อสัตว์ที่ควรรู้

การเลือกเนื้อสัตว์

ชึ้นชื่อว่าเป็น “เนื้อสัตว์” นั้น…หลายๆ ท่านก็คงจะสงสัยกันใช่มั้ยหล่ะครับ ว่าเราจะเลือกซื้ออย่างไรให้ไม่เจอของเสียหรือเนื้อไม่ดี วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “วิธีการเลือกเนื้อสัตว์ที่ควรรู้” พร้อมกับแนะนำกาย่างเนื้อในระดับความสุกที่แตกต่างกันว่าเป็นอย่างไร? ด้วยครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา…เราไปดูกันเลยดีกว่า!!!

วิธีการเลือกเนื้อสัตว์ต่างๆ

เนื้อสัตวใหญ่

– เนื้อหมู เนื้อควรมีสีชมพูอ่อน นุ่ม มันมีสีขาว ไม่มีเม็ดสาคู (ไข่พยาธิ)
– เนื้อวัว เนื้อสีแดงสด ไม่เขียวคล้ำ มันมีสีเหลือง ไม่มีเม็ดสาคู

เนื้อสัตว์ปีก

– ไก่ เลือกตัวอ้วน กดดูตรงหน้าอกจะนูนและแน่น ตีนนุ่ม หนังสดใสไม่เหี่ยวย่น ไม่มีกลิ่นเหม็น ลูกตาไม่ลึกบุ๋ม ไม่มีรอยช้ำตามท้องและคอ

ปลาน้ำจืดและอาหารทะเล

– ปลาน้ำจืดและปลาทะเล ปลาสดลักษณะจะมีหนังมัน ตาสดใส เหงือกแดง ท้องไม่แตก เนื้อแน่นกดไม่บุ๋ม
– กุ้งทะเล เปลือกแข็งใส หัวติดแน่นกับตัว
– กุ้งน้ำจืด ตาใส ลำตัวสีน้ำเงินปนเขียว เนื้อใส แข็ง
– ปูม้า ตัวหนัก เนื้อแน่น ไม่มีกลิ่นเน่า
– ปูทะเล ปูที่ยังเป็นๆอยู่ สีเขียวเข้ม เนื้อหน้าอกแน่น กดไม่ยุบ ตัวหนัก ตาใส
– หอย บางชนิดต้องซื้อทั้งเปลือกที่ยังเป็นๆอยู่ เช่น หอยลาย หอยแครง หอยกะพง พอตายแล้วจะเน่า หอยที่แกะเปลือกแล้ว เช่น หอยแมลงภู่ ต้องมีสีสดใส ตัวหอยอยู่ในสภาพที่ดี ไม่ขาดรุ่งริ่ง น้ำแช่หอยไม่มีเมือกมาก และไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า

จะรู้ได้อย่างไรว่าเนื้อสัตว์ใกล้จะเสียแล้ว?

●ดูวันหมดอายุที่บรรจุภัณฑ์. อายุการเก็บรักษาของเนื้อแดงแบบดิบจะอยู่ที่ประมาณ 1-3 วัน แต่ถ้าแบบสุกจะอยู่ที่ 7-10 วัน ทิ้งเนื้อที่เลยวันหมดอายุแล้วทิ้งไปเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารเป็นพิษ

●ดมว่ามีกลิ่นเหม็นหรือเปล่า. ถ้าเนื้อมีกลิ่นหืน ก็น่าจะเสียแล้ว เนื้อแดงที่เสียแล้วจะมีกลิ่นเหม็นแรงเฉพาะตัว ถ้าเนื้อเริ่มกลิ่นไม่ดีแล้วก็ให้ทิ้งไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเลยวันหมดอายุไปแล้ว

●สีของเนื้อ เนื้อไก่ที่สดจะมีสีออกชมพูอ่อน ๆ หรือสีเนื้อ หากสีของเนื้อไก่ซีดลงแสดงว่าอาจใกล้หมดอายุ  แต่ถ้าเนื้อไก่เริ่มออกเขียวแสดงว่าหมดอายุแล้วแน่นอน ส่วนเนื้อหมูก็เช่นเดียวกันหากมีสีเขียวห้ามรับประทานเด็ดขาดถึงแม้จะแช่ไว้ในช่องฟรีทแล้วก็ตามครับ

สารเคมีตกค้างที่อาจพบได้ในเนื้อสัตว์

– สารบอแรกซ์ พบมากในอาหารประเภทเนื้อหมู เนื้อปลา เนื้อวัว ฯลฯ เมื่อใส่สารนี้ไปแล้วจะทำให้อาการมีสีสันที่สวยงาม รสชาติดี และเก็บไว้ได้นาน สารนี้เป็นสารที่ก่อให้เกิด สารไนโตรซามีน (nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง

– สารกันรา (กรดซาลิซิลิค) พบได้ในอาหารประเภท แหนม หมูยอ และผักผลไม้ดอง เช่น มะม่วงดอง ผักกาดดอง มะกอกดอง มะดันดอง ขิงดอง เป็นต้น หากกินอาหารที่มีสารกันราปนเปื้อนพิษของมันก็จะเข้าไปทำลายเซลล์ต่างๆ ทำให้ความดันโลหิตต่ำ เป็นผื่นคันตามตัว อาเจียน หูอื้อ หรือมีไข้

– ฟอร์มาลิน เป็นสารอันตรายที่ถูกนำมาใช้กับอาหารสดไม่ว่าจะเป็นอาหารทะเล เนื้อสัตว์ หรือกระทั่งผัก เพื่อให้มีความสดได้นาน หากถูกปนเปื้อนเข้าไปในร่างกายปริมาณมาก จะทำให้เกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้ปวดหัว ปวดท้อง แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการเหงื่อออก ร่วมด้วย

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “วิธีการเลือกเนื้อสัตว์ที่ควรรู้” ที่พวกเราได้รวบรวมข้อมูลมาให้ทุกๆ ท่านที่กำลังสงสัยได้คำตอบกันนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กันนะครับ

Back To Top