ระดับความสุกของเนื้อสเต็ก มีอะไรบ้าง แตกต่างกันอย่างไรมาดูกัน

สเต็ก

“สเต็ก” ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารยอดนิยมของสากลโลก ไม่ว่าจะไปที่ไหนต่างๆ ก็มีเมนู เสต็ก ให้เราเลือกรับประทานกันอย่างมากมาย ซึ่งมีการปรุงที่แตกต่างกัน ระดับความสุกที่มีความอร่อยคนละแบบ เหมาะกับเนื้อคนละชนิด แต่ก็หลายๆ คนที่ไม่ทราบว่า “ระดับความสุกของเนื้อ” มีมากมากมายหลายแบบเหลือเกิน ในวันนี้เราจะขอพาทุกๆ ท่านที่รักในการกิน สเต็กเนื้อ ได้ทราบถึง “ระดับความสุกของเนื้อสเต็ก มีอะไรบ้างและแตกต่างกันอย่างไร?” เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เราไปดูกันเล้ยย!!

ระดับความสุกของเนื้อสเต็ก

ระดับความสุกของเนื้อสเต็กนั้นแบ่งเป็น 6 แบบ โดยแบ่งตามลักษณะดังนี้

Blue rare เนื้อเป็นสีน้ำตาลแค่ผิวด้านนอก ส่วนด้านในมีแดงสด เหมือนกับเนื้อดิบๆ ผ่านความร้อนแค่ผิวด้านนอกเท่านั้น ไม่เป็นที่นิยมในประเทศไทย
Rare เนื้อสีแดงจากด้านใน 75 % ไล่จนไปถึงเนื้อด้านนอกเป็นสีน้ำตาล
Medium Rare เนื้อสีน้ำตาลจากภายนอก 50% ส่วนสีแดงอีก 50%
Medium เนื้อส่วนสีแดง 25% ความสุกไล่จนถึงเนื้อด้านนอกเป็นสีน้ำตาล
Medium well done เกือบสุก 100% เนื้อเป็นสีน้ำตาลเกือบทั่วชิ้น ตรงกลางมีสีชมพูเรื่อๆ เนื้อมีความฉ่ำ ไม่แข็งกระด้าง
Well done เนื้อสุก 100% มีความฉ่ำน้อยลงแต่ไม่ถึงกับแข็งกระด้าง

โดยแต่ละระดับความสุกสามารถตามวิธีดังนี้

1.บูแรร์ (Blue Rare) เราจะนำเนื้อที่อุณหภูมิห้อง ไปนาบบนกระทะที่ตั้งไฟร้อนจัดเพียงข้างละ 2-3 นาที
2. แรร์ (Rare) เราจะย่างเนื้อที่อุณหภูมิ 120-125 องศาฟาเรนไฮต์ ประมาณ 6 นาที แล้วกลับด้าน หลังจากนั้นจะย่างอีกประมาณ 3-4 นาที
3. มีเดียม แรร์ (Medium Rare) เราจะย่างเนื้อที่อุณหภูมิประมาณ 130-135 องศาเซลเซียส ประมาณ 6 นาที แล้วพลิกกลับด้านย่างต่ออีกประมาณ 4-5 นาที
4. มีเดียม (Medium) ย่างที่อุณหภูมิ 140-145 องศาฟาเรนไฮต์ ประมาณ 7 นาที แล้วพลิกกลับด้านย่างต่ออีกประมาณ 5-6 นาที
5. มีเดียม เวล (Medium Well) ย่างที่อุณหภูมิ 150-155 องศาฟาเรนไฮต์ ประมาณ 8 นาที แล้วพลิกกลับด้านย่างต่ออีกประมาณ 6-7 นาที
6. เวล (Well) ย่างที่อุณหภูมิประมาณ 160 องศาฟาเรนไฮต์ ประมาณ 9 นาที แล้วพลิกกลับด้านย่างต่ออีกประมาณ 7-8 นาที ลักษณะเนื้อสุกทุกส่วนแบบ 100% ไม่เหลือเนื้อส่วนที่เป็นสีชมพูอยู่เลย เนื้อไม่ค่อยมีความฉ่ำ แต่ก็ไม่ถึงกับแข็งกระด้าง เหมาะสำหรับคนชอบกินเนื้อแบบสุก

เนื้อวัวส่วนต่างๆ มีอะไรบ้าง?

●Chunk เนื้อสันคอ เนื้อจะมีความหนาเหมาะกับการอาหารประเภท อบ สตู หรือ เบอร์เกอร์ จะทำให้นิ่มไม่เหนียว
●Rib เนื้อส่วนซี่โครง ส่วนนี้สามารถแยกออกเป็น
●Short Rib เป็นเนื้อที่ติดกับซี่โครง เหมาะกับการนำไปย่าง เผา อบ
●Rib eye จะเป็นเนื้อล้วนๆ มีมันติดนิดหน่อย ไม่มีซี่โครงติดมาด้วย ซึ่งเป็นส่วนที่นิยมกันมากๆ เมาะกับการทำ สเต็ก ย่าง หรือ ทอด
●Prime Rib จะมีเนื้อล้วนๆ ไม่มีซี่โครง คล้ายๆ กับ Rib eye และสามารถนำทำอาหารเหมือนกับ Rib eye อีกด้วย แต่เนื้อส่วนนี้มีความแตกต่างกับ Rib eye คือจะมีชั้นของมันมากกว่า หากใครชอบมันเยอะๆ เลือกส่วนนี้ได้
●Loin เนื้อสัน เนื้อส่วนนี้สามารถทำสเต็ก อบ ย่าง เผา เหมือนกันส่วนต่างๆ แต่ส่วนนี้จะอร่อยเป็นพิเศษและมีราคาที่ค่อนข้างแพง Loin แบ่งส่วนไปอี 6 ส่วน

●Short Loin หรือ Strip loin เนื้อส่วนนี้มีราคาที่สูง เหมาะกับนำมาทำสเต็ก Strip Steak ชื่อดังอย่าง New York Steak
●Sirloin เนื้อสันนอกติดมัน สำหรับทำสเต็ก ย่าง อบ มีราคาสูงอีกเช่นกัน
●Top Sirloin กับ Bottom Sirloin เนื่อนุ่ม ใช้ทำสเต็ก ย่าง เผา
●Tenderloin เนื้อนุ่ม ใช้ย่าง ทำ BBQ ได้อร่อยเลยทีเดียว
● Fillet เนื้อสันใน เนื้อนุ่ม ใช้ผัด กับทอด
●T-bone เป็นช่วงระหว่าง Strip loin กับ Tenderloin ตรงระหว่างกลางเป็นกระดูกอ่อน ตัดออกมาเป็นรูปตัว T ใช้ทำสเต็ก ราคาสูง
●Round เนื้อส่วนสะโพก นิยมนำมาทำอาหารประเภท ย่าง อบ เนื้อบด ผัด สเต็ก เรียกได้ว่าเนื้อส่วนนี้สามารถทำอาหารได้เกือบทุกประเภท
●Shank เนื้อส่วนที่ติดกับขา มัก ทำสตู และ ซุป
●Plate หรือ Belly เป็นเนื้อส่วนท้อง มักจะนำไปอบ ย่าง หรือ สเต็ก ที่มีชื่อว่า Outside Skirt Steak ที่มีราคาถูก เนื้อส่วนนี้มีมันค่อนข้างเยอะ ส่วนใหญ่มักจะนำมาทำน้ำสต๊อก เนื้อตุ๋น
●Flank เนื้อสีข้าง นำมาทำสเต็กได้ แต่เนื้อส่วนนี้จะไม่นุ่ม ต้องนำไปหมักอย่างดีถึงจะนุ่มขึ้น หรือนำไปอบ หรือทำเนื้อบดก็ได้

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลที่เราได้นำมาฝากผู้อ่านที่รักในการกินสเต็กในวันนี้ เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นปะโยชน์แก่ทุกๆ ท่านนะครับ

Back To Top